หลักการและเหตุผล
มูลนิธิเด็ก ได้ตั้งโครงการพัฒนาครอบครัวคิดดี (KIDS DEE) ในปี ๒๕๖๑ เพื่อให้เด็กที่อยู่ในความดูแลของบ้านทานตะวัน และโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก มูลนิธิเด็ก ได้รับความรัก ความอบอุ่น และการเลี้ยงดูเด็กจากครอบครัวอย่างปลอดภัย ครอบครัวต้องไม่มีการใช้ความรุนแรงกับเด็กโครงการพัฒนาครอบครัวคิดดีฯ จึงมีหน้าที่พัฒนาครอบครัวให้เล็งเห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก และมีวิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวกที่ใช้ได้จริง เมื่อเด็กกลับไปเยี่ยมครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมความพร้อมของครอบครัว เพื่อให้ดูแลเด็กได้ในอนาคต เช่น การสร้างความผูกพันเด็กกับครอบครัว และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีแนวโน้มทำให้สมาชิกในครอบครัวใช้ความรุนแรงกับเด็ก เช่น ความเครียด รายได้น้อยไม่พอเลี้ยงตนเองและครอบครัว ต้องทำงานหนักจนไม่มีเวลาดูแลเด็ก
เป้าหมาย
ทำให้เด็กได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัว โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และสมาชิกในครอบครัวเด็ก
กลุ่มเป้าหมาย
ครอบครัวเด็กในพื้นที่บริการของมูลนิธิเด็กและชุมชนภายนอก จำนวน ๓๐ คน จาก ๒๐ ครอบครัว
โครงการพัฒนาครอบครัวคิดดี (KIDS DEE)
เพื่อให้การศึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพ่อแม่ใหม่ ทำให้คนในครอบครัวคิดดีต่อกันโดย ฟังอย่างไม่ตัดสิน สื่อสารเชิงบวก เข้าใจพัฒนาการและธรรมชาติเด็ก เลี้ยงดูเด็กเชิงบวก ช่วยเสริมจุดเด่น ไม่ตอกย้ำจุดด้อย ไปพร้อมกับการพัฒนาเด็ก อาจใช้เวลาเป็นปีในช่วงที่เด็กอยู่กับเรา เชื่อว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนทุกอย่างให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อซ่อมสร้างครอบครัวคืนให้แก่เด็กด้อยโอกาสที่อยู่ในมูลนิธิเด็ก
๑. เพื่อติดตามเยี่ยมและทำความรู้จักครอบครัวเด็กที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิเด็ก ทำการประเมินศักยภาพครอบครัว
๒. เพื่อสร้างความไว้วางใจฟื้นฟู เยียวยา และพัฒนาศักยภาพครอบครัวของเด็กที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิเด็ก ในการติดตามเยี่ยมครอบครัวทำความรู้จักเพื่อสร้างความไว้วางใจ
๓. ช่วยเหลือเฉพาะหน้า
๔. ประเมินศักยภาพครอบครัว
เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตที่เกิดมาและยังเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดอนาคตของชีวิตนั้นๆ ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมครอบครัวที่ควรจะเป็นจุดเริ่มต้นและบ่มเพาะชีวิตเล็กๆ ให้เติบโตขึ้นกลับต้องล่มสลาย ไม่อาจเป็นที่พึ่งทางใจ เพราะปัญหาถาโถมกระทบ เช่น ความยากจน ความรุนแรงในครอบครัว การหย่าร้าง ตั้งท้องไม่พร้อม เป็นเหตุสำคัญทำให้ครอบครัวเลี้ยงดูเด็กไม่ได้ สถิติทอดทิ้งเด็กไว้ตามที่ต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นตามข่าวที่มีอยู่ ลูกไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร แม่พ่อจึงทอดทิ้งลูกรู้สึกแค่ว่า อยากได้อ้อมกอด อุ้มชูดูแลจากผู้เป็นพ่อแม่ มาสร้างสายใยผูกพัน (Attachment) เพื่อสร้างฐานชีวิตให้เติบโตมั่นคง รักตัวเองแล่ปันให้คนอื่น
ผลที่คาดหวังและได้รับ
ทุกครั้งที่ไปเยี่ยมบ้าน แก้วมักจะพูดอยู่เสมอว่า “ถึงหนูจะเป็นบ้า แต่ก็รักลูก อยากเห็นเขาโตขึ้นมามีอนาคต ตั้งใจจะเก็บเงินไว้ให้เขาเรียน อย่างน้อยลูกจะได้รู้ว่าแม่รักลูกมากไม่เคยคิดจะทิ้งลูก”
แก้ว แม่น้องธี อายุ ๔ ปี